ARMS ระบบการซื้อขายด้วยคอมพิวเตอร์

ARMS ระบบการซื้อขายด้วยคอมพิวเตอร์


เป็นระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้พัฒนาขึ้น หรือเรีกสั้นๆ ว่าระบบ ARMS (Advance Resilience Matching System)  เรื่มซื้อขายคั้งแรกเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ.2552 เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้แทนระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยคอมพิวเตอร์ระบบเดิมที่ใช้ชื่อว่า Automated System for the Stock Exchange of Thailand หรือเรียกสั้นๆ ว่า ASSET เพื่อรองรับแนวโน้มความต้องการและรูปแบบการดำเนินธุรกรรมในตลาดโลก รวมทั้งประสิทธิภาพของการบริหารความเสี่ยงหรือระบบสำรองกรณีระบบขัดข้องที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีความสามารถในการขยายและความยืดหยุ่นในการรองรับธุรกรรมเพิ่มเติม มีความต่อเนื่องในการบริการสูงขึ้น มีระบบความปลอดภัยของข้อมูลหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลสำคัญได้รับการดูแลอย่างดีและครบถ้วน สามารถทำงานได้บน Open Platform ซึ่งช่วยลดข้อจำกัดของระบบและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น

ทั้งนี้การใช้ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยคอมพิวเตอร์จะทำให้เกิดความโปร่งใสและยุติธรรมในกระบวนการจับคู่คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ และทำให้การซื้อขายมีความสะดวก รวดเร็ว สามารถรองรับปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น

สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยคอมพิวเตอร์ สามารถทำได้ 2 กรณี คือ

การจับคู่คำสั่งซื้อ/ขายโดยอัตโนมัติ (Automatic Order Matching : AOM)
การตกลงซื้อ/ขาย และจดแจ้งรายการ (Put - Through : PT) <

โครงสร้างข้อสอบ Single License

โครงสร้างข้อสอบ Single License 


แจกหนังสือเงินทองต้องวางแผน

แจกหนังสือเงินทองต้องวางแผน
เป็นหนังสือที่เเนะนำให้ลองอ่านดูครับเพราะว่าท่านจะได้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินตลอดทุกช่วงอายุ 
                                                    Download

 

สรุปคำสั่งซื้อขายหุ้น

       1.ATO ATC
ATOสั่งซื้อขายทันที่ที่ราคาเปิดก่อนการซื้อขาย
ATCสั่งซื้อทันทีที่ราคาปิด
2.Market Order
เป็นคำสั่งซื้อขายทันที ที่ราคาที่ดีที่สุดในขณะนั้น ส่งคำสั่งได้แค่เวลาที่ตลาดเปิดเท่านั้น
หากจำนวนหลักทรัพย์ที่เสนอขาย ไม่สามารถจับคู่ได้ทั้งหมด ระบบจะยกเลิกหลักทรัพย์ที่เหลืออัตโนมัติ
(อาจจะได้หลายราคา)
3.Special Market Order
เป็นคำสั่งที่ใช้ซื้อขายทันที ณ ราคาที่ดีที่สุดในขณะนั้น คล้ายๆMarket Order แต่จะไม่ได้หลายราคาและราคาที่ไม่ใช่ก็จะถูกยกเลิกไปและตั้งเป็นราคาที่ราคาที่แพงกว่า+Spread1
4.Market to Limit Order
เป็นคำสั่งที่ซื้อขายหลักทรัพย์ ณ ราคาที่ดีที่สุดในขณะนั้นคล้าย อันที่3 แต่ต่างที่ถ้าเหลือหลักทรัพย์ที่จับคู่ระบบจะตั้งเป็นราคาเดิม เช่น สั่ง52 เหลือ 1000หุ้นก็ยังตั้งเป็นราคา52เพื่อหาคู่ที่ขาด
5.Fill-Or-Kill Order (FOK)
เป็นคำสั่งที่ผู้ลงทุนต้องซื้อขายหลักทรัพย์ตามที่กำหนดโดยให้ได้จำนวนที่ต้องการให้ครบถ้าไม่ครบก็จะไม่เอาเลย คือไม่ซื้อขายเลย ส่งคำสั่งได้เฉพาะที่เวลาตลาดเปิดเท่านั้น
6.Iceberg
เป็นการเสนอราคาแบบต้องการที่จะทยอยซื้อขายปริมาณการซื้อขายเดียวกันหมด เพื่อไม่ให้ราคาส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ และจะแบ่งเป็นคำสั่งย่อย ไม่เกิน100คำสั่ง(การเสนอ)

เป้าหมายนโยบายการเงิน


(1) การใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) เป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบาย
คณะกรรมการฯ มีมติให้หักราคาสินค้าหมวดอาหารสดและพลังงานออกจากอัตราเงินเฟ้อ (Headline Inflation)ที่ใช้กันอยู่ปกติในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งจะใช้เป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงินเนื่องจากราคาสินค้าในกลุ่มดังกล่าว อาทิ ข้าว ผลิตภัณฑ์แป้ง เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ค่าไฟฟ้า หรือราคาน้ำมันมีความผันผวนระยะสั้นสูง ราคาอาหารสดขึ้นกับสภาพอากาศ และราคาน้ำมันขึ้นกับปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ หากยังคงรวมอยู่ในเป้าหมายอาจจะทำให้ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายในทางที่ไม่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่นกรณีที่ราคาสินค้าหมวดอาหารสดและพลังงานสูงขึ้น จะกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนอยู่แล้ว ยิ่งหากดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดเพื่อชะลออุปสงค์รวม ก็จะเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น ถึงแม้หักราคาสินค้าหมวดอาหารสดและพลังงานออกแล้ว ข้อมูลเกี่ยวกับราคาในตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานดังกล่าวก็ยังสูงอยู่ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 81 ของข้อมูลเกี่ยวกับราคาที่ใช้ในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) และจากการเปรียบเทียบข้อมูลในอดีต พบว่าในระยะสั้นอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีความผันผวนน้อยกว่า ส่วนในระยะยาวอัตราเงินเฟ้อทั้งสองมีความสัมพันธ์ไปด้วยกันอย่างใกล้ชิด โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและอัตราเงินเฟ้อที่ใช้กันอยู่ปกติมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน คือ ประมาณร้อยละ 4.7 และร้อยละ 4.8 ตามลำดับ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อทั้งสองเคลื่อนไหวไปด้วยกันในระยะยาว การรักษาเสถียรภาพของระดับราคาพื้นฐานจะส่งผลให้ระดับราคาโดยรวมมีเสถียรภาพเช่นกัน

(2) การกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานไว้ที่ร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 3.5
จากการที่อัตราเงินเฟ้อของประเทศคู่ค้าคู่แข่งสำคัญของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3.5 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาและคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2-3 ในช่วงปี 2543-2544 การรักษาอัตราเงินเฟ้อของไทยให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อของประเทศคู่ค้าคู่แข่งจะทำให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันในการส่งออกได้ และเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างเสถียรภาพให้กับค่าเงินบาท คณะกรรมการฯ เห็นว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานดังกล่าวมีความเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจของไทย และเมื่อคำนึงถึงอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยของไทยในช่วง 2 ปีข้างหน้า อัตรากำลังการผลิตส่วนเกินที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำประมาณร้อยละ 2.0 และร้อยละ 1.2 ตามลำดับเมื่อเดือนมิถุนายน 2543 แล้ว เป้าหมายดังกล่าวไม่เป็นข้อจำกัดของการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจ สำหรับช่วงเป้าหมายที่กว้างประมาณร้อยละ 3.5 (ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของประเทศนิวซีแลนด์) จะช่วยรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ (Temporary Economic Shocks) ลดความจำเป็นที่คณะกรรมการฯ จะต้องปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินบ่อยครั้ง และช่วยลดความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลง ส่งผลให้ระบบการเงินมีเสถียรภาพ


(3) การใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสเป็นเป้าหมาย โดยเหตุที่อัตราเงินเฟ้อรายเดือนยังมีความผันผวน คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสเป็น เป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงิน ซึ่งจะสอดคล้องกับประมาณการจากแบบจำลองเศรษฐกิจ-มหภาครายไตรมาสที่คณะกรรมการฯ ใช้เป็นเครื่องมือประกอบการกำหนดนโยบาย โดยหากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานออกจากเป้าหมายที่กำหนดไว้กล่าวคือร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 3.5 คณะกรรมการฯ จะต้องชี้แจงต่อสาธารณชนถึงสาเหตุที่ทำให้ออกจากเป้าหมาย มาตรการที่คณะกรรมการฯ จะดำเนินการ รวมถึงเมื่อใดจะกลับเข้าสู่เป้าหมายได้อีกครั้งหนึ่ง

ความต่างระหว่าง Future และ Forward

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง Future Contract และ Forward Contract


Future Contract
Forward Contracts
1. ขนาดการซื้อขาย
จำนวนการซื้อขายเป็นมาตรฐานสำหรับเงินตราแต่ละสกุลที่กำหนดไว้
จำนวนการซื้อขายไม่เป็นมาตรฐาน ขึ้นกับตกลงกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
2. สถานที่ทำการซื้อขาย
ซื้อขาย ณ ห้องค้าของตลาดจดทะเบียน
ซื้อขายกันส่วนตัว เช่น ทางโทรศัพท์
3. ระยะเวลาครบกำหนด (Maturity)
มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน โดยปกติไม่เกิน ปี
กำหนดระยะเวลานานเท่าใดก็ได้ อาจเกินกว่า ปี
4. วันครบกำหนดชำระเงิน (Settlement)
กระทำทุกวันโดยผ่านสำนักหักบัญชี
กำหนดร่วมกันระหว่างคู่สัญญา
5. วันส่งมอบ (Delivery date)
กำหนดระยะเวลาไว้เป็นมาตรฐาน
ขึ้นอยู่กับการตกลงกัน
6. ราคาซื้อขาย
ถูกกำหนดโดยการแข่งขันในตลาด
รูปแบบการเสนอซื้อและเสนอขาย /เจรจาต่อรอง
7. ต้นทุนในการทำธุรกรรม (Transaction cost)
ค่านายหน้าจากคำสั่งซื้อและ คำสั่งขาย
ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขาย
8. วงเงินมัดจำ (Margin)
ผู้ซื้อ-ขายเงินตราต่างประเทศต้องวางเงินมัดจำ
ไม่ต้องวางเงินมัดจำ
9. ความเสี่ยงเกี่ยวกับภาระหนี้สิน (Credit risk)
ความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากสำนักหักบัญชีทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้ผู้ซื้อและผู้ขาย
ความเสี่ยงขึ้นอยู่กับผู้ซื้อและผู้ขาย